วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
            ในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  ช่วยอำนวยความสะดวก  และช่วยส่งเสริมให้ม
ีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    ในปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ จำนวนมาก 
             เทคโนโลยี  คือ  การประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์  เช่น  คอมพิวเตอร์  การสื่อสาร  โทรคมนาคม
ตลอดจนการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ  เช่น  ด้านการแพทย์  การศึกษา  การค้า  และอุตสาหกรรม 
             สารสนเทศ  คือ  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
             ดังนั้น  เทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงหมายถึง  เครื่องหมายหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวม  ประมวลผล
เก็บรักษา  และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
                1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  สามารถทำให้มนุษย์ทำงานได้รวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ
มากยิ่งขึ้น
                2. ช่วยด้านการบริการ  มีการใช้ระบบฐานข้อมูลในเครือข่าย  ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็จะสามารถ
ใช้ระบบฐานข้อมูลจากสถานที่หรืเวลาใดก็ได้
                3. ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน  เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบการทำงาน
                4. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  เช่น  การรับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนท
ี่ หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพด้วยกล้องดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                1. บันทึกและจัดเก็บข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล  การรวบรวมข้อมูล
จะใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล  เช่น  แป้นพิมพ์  เครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์  เครื่องอ่านบาร์โค้ด
                2. การประมวลผล  ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ  เช่น  แผ่นดิสเกตต์  แผ่นซีดี  และแผ่นดีวีดี  จะถูกนำมาประมวลผลตามดปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
                3. การแสดงผล  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปแสดงยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล
การแสดงผลลัพธ์อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร  ภาพ  เสียง  และสื่อประสมต่าง ๆ
               4. การสื่อสารและเครือข่าย  เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งเพื่อให้
คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์สื่อสารสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น  โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์และ
สารสนเทศร่วมกัน  การเชื่อมต่ออาจผ่านทางสายโทรศัพท์  ทางอากาศ  และสายเคเบิล 

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

     วิธีปลูกมะนาว อยากรู้ว่าปลูกมะนาวอย่างไรให้ได้ผลดี มาดูวิธีปลูกมะนาวเหล่านี้ ไว้ปลูกมะนาวกินเองที่บ้านหรือจะปลูกมะนาวไว้สร้างรายได้ให้กับครอบครัวก็ไม่ว่ากัน 

        สำหรับคนที่ต้องซื้อมะนาวในราคาแพง แถมยังไม่มั่นใจอีกว่ามะนาวที่ได้มาจะเป็นมะนาวไม่มีน้ำหรือไม่ ฉะนั้นกระปุกดอทคอมเลยอาสารวบรวมวิธีปลูกมะนาวมาให้ลองไปเลือกปลูกมะนาวที่บ้านกันค่ะ จะปลูกมะนาวเอาไว้กินเองที่บ้านหรือปลูกมะนาวเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวก็ได้ ใครสนใจวิธีปลูกมะนาวแบบไหนก็ลองนำไปใช้กันดูนะคะ

1. ปลูกมะนาวลงดิน

        การปลูกมะนาวลงดินจำเป็นที่จะต้องใช้กิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์และไม่มีโรคมาทำการปักชำ จากนั้นให้นำมาปักชำลงในถุงดำที่มีดินผสมแกลบและขุยมะพร้าว เมื่อรากเริ่มงอกและแข็งแรงแล้ว ก็จัดการย้ายต้นมะนาวจากถุงลงไปปลูกในหลุมที่ดินร่วนซุยที่มีขนาด 50x50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หาไม้หลักมาปักไว้และผูกเข้ากับต้นมะนาวเพื่อให้ต้นแข็งแรง ที่สำคัญตำแหน่งหลุมปลูกจะต้องอยู่สูงกว่าทางเดินเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง

2. ปลูกมะนาวให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี

        หากจะปลูกมะนาวให้สามารถเก็บขายและมีรายได้ตลอดทั้งปีนั้น จะต้องหันมาใช้วิธีปลูกมะนาวต้นคู่ ก่อนอื่นจะต้องคัดสรรกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงและไม่มีโรคมาปลูก ซึ่งอาจจะเป็นสายพันธุ์แป้นพิจิตร แป้นวโรชา หรือแป้นดกศรีนวล ที่มีลักษณะเปลือกบางน้ำเยอะมาปลูกก็ได้ค่ะ จากนั้นก็เตรียมขุดหลุมดินให้มีความกว้าง 50x50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ต่อไปให้นำกิ่งพันธุ์จำนวน 2 กิ่ง ลงไปปลูกในหลุมเดียวกัน วางทั้ง 2 กิ่งให้ไขว้กัน จากนั้นกลบดินให้แน่ และปักไม้หลักให้ต้นมะนาวยึด วิธีนี้จะทำให้มะนาวทั้ง 2 ต้นแย่งกันโตและออกให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี

3. ปลูกมะนาวในน้ำ

        ข้อดีของการปลูกมะนาวในน้ำนั่นก็คือ ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะแถมยังได้ผลผลิตตลอดทั้งปี ก่อนอื่นจะต้องนำกระถางพลาสติกมาเจาะรูปขนาดเล็กไว้โดยรอบ นำต้นมะนาวลงไปปลูกในกระถางเจาะรูที่มีขุยมะพร้าวรองก้นสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร ตามด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอก และกลบชั้นบนด้วยขุยมะพร้าวให้แน่น จากนั้นก็เตรียมเจาะรูฝาถังน้ำขนาด 100 ลิตร ให้มีขนาดเท่ากับกระถางที่เจาะรูเพื่อให้ใส่กระถางลงไปได้พอดี หันไปผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร กับน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร แล้วรดลงไปที่ต้น และย้ายต้นไปไว้ในที่ร่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำในถังและปุ๋ยในกระถางทุก 3 เดือน หลัง 3 เดือนแรก ให้นำผ้ายางดำมาคลุมต้นทิ้งไว้ 20 วัน แล้วค่อยเอาออก ก็จะทำให้ได้ผลผลิตมากตลอดทั้งปี

4. ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

        อยากให้มะนาวออกลูนอกฤดูกาลก็สามารถทำได้ ไม่ต้องพึ่งวิธีการวิทยาการให้ยุ่งยาก เริ่มจากการเตรียมกิ่งพันธุ์สมบูรณ์มาชำลงในถุงดำที่มีดินผสมแกลบและรอให้รากแข็งแรง ในระหว่างนั้นก็มาเตรียมส่วนของพื้นที่ปลูก โดยการเลือกใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 80x40 เซนติเมตรมาวาง ซึ่งต้องรองก้นบ่อด้วยฝาบ่อซีเมนต์ขนาด 100 เซนติเมตร จากนั้นนำหน้าดินที่มีแร่ธาตุและสารอาหารมาผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เติมแกลบเพื่อให้ดินร่วนซุย เมื่อรากต้นมะนาวในถุงดำแข็งแรงแล้ว ก็ย้ายลงมาปลูกในบ่อซีเมนต์ กลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น และปักไม้หลักเพื่อยึดต้นให้ทนทานไม่หักเอน

5. ปลูกมะนาวในเข่ง

        การปลูกมะนาวลงในเข่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยประหยัดพื้นที่และดูแลรักษาง่าย เริ่มจากการชำกิ่งพันธุ์ที่ต้องการลงในถุงดำหรือกระถางเพื่อรอให้รากแข็งแรง จากนั้นก็ออกตามหาเข่งพลาสติกขนาด 14 นิ้ว มาเจาะรูระบายน้ำไว้ที่ก้นเข่งซะก่อน แล้วย้ายต้นมะนาวที่มีรากแข็งแรงลงในเข่งที่รองดิน แกลบ และปุ๋ยคอก กลบดินที่โคนต้นให้แน่น ปักไม้ให้ต้นยึด 

6. ปลูกมะนาวในยางรถยนต์

        จริง ๆ แล้วยางรถยนต์ก็สามารถแปรสภาพกลายเป็นกระถางปลูกต้นมะนาวได้ เริ่มจากตัดขอบยางออกทั้ง 2 ด้าน จากนั้นก็เทปูนซีเมนต์เติมช่องว่างในขอบยางให้กลายเป็นแผ่นรองก้นกระถาง ต่อมาก็จัดการนำยางที่ตัดขอบจำนวน 2 เส้นมาวางซ้อนกัน ทำการผสมดิน 4 ส่วน แกลบดิน 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 2 ส่วน และขุยมะพร้าวอีก 2 ส่วน ปสมให้เข้ากันดีแล้วเทลงในกระถางยางรถยนต์ ย้ายต้นมะนาวที่เตรียมไว้มาปลูก ปักไม้หลักเพื่อยึดต้น และวางไว้ในที่แดดรำไร

7. ปลูกมะนาวไม่ใช้ดิน

        เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคเชื้อราในพืชได้ แถมยังดูแลง่ายอีกด้วย โดยเริ่มจากการนำขุยมะพร้าว มูลสัตว์ ขี้เถ้าแกลบ แกลบเก่า มาผสมในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน แล้วเทโดโลไมด์ขนาด 1 กำมือตามลงไป รดน้ำหมักลงไปให้ชุ่มฉ่ำ แล้วนำเศษใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง ผักตบชวา ผสมเตรียมไว้ เข้าสู่ขั้นลงมือปลูกให้นำส่วนผสมที่สองมารองก้อนบ่อซีเมนต์เอาไว้ประมาณ ¾ ของบ่อ ตามด้วยส่วนผสมแรก นำกิ่งพันธุ์มะนาวมากปักลงตรงกลาง กลบส่วนผสมที่โคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักให้ต้นยึด และรดน้ำปานกลาง

8. ปลูกมะนาวด้วยใบ

        มะนาวที่ขยายพันธุ์ด้วยใบ เริ่มจากการนำกิ่งมะนาวติดใบเพียง 1 ใบ ที่อยู่ในระยะกึ่งอ่อนและกึ่งแก่มากรีดที่กิ่งประมาณ 3-4 แผล เพื่อเปิดทางให้รากงอกออกมาก จากนั้นทำการตัดใบมะนาวออกครึ่งหนึ่งตามแนวขวาง จุ่มกิ่งที่กรีดแผลลงในน้ำยาเร่งรากและตากลมให้แห้ง เมื่อกิ่งแห้งสนิทแล้วก็นำมาปักลงในกากมะพร้าวที่มัดเป็นกำ ย้ายไปวางไว้ในโรงเรือนที่มีระบบละอองน้ำ รากใหม่จะงอกขึ้นภายใน 1 เดือน จากนั้นก็นำไปปลูกต่อได้เลย

9. ปลูกมะนาวลงกระถาง 

        ก่อนอื่นจะต้องนำผลมะนาวที่สมบูรณ์มาปอกเปลือกออกให้หมด แล้วค่อย ๆ แยกเมล็ดออกจากเนื้อมะนาวอย่างระมัดระวัง นำเมล็ดไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นแช่เมล็ดลงในน้ำเย็นต่ออีก 1 คืน แล้วนำกระดาษทิชชูมาห่อเมล็ดไว้ ใส่กล่องที่มีฝาปิด หมั่นพรมน้ำอย่าปล่อยให้กระดาษทิชชูแห้ง รากจะงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จากนั้นให้นำเมล็ดมาปลูกลงในกระถางที่มีดินร่วมผสมกับปุ๋ยคอกในอัตราส่วนที่เท่ากัน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ และตั้งให้โดนแสงแดดรำไร

        วิธีปลูกมะนาวมีหลากหลายวิธี สามารถเลือกเพื่อนำไปปลูกมะนาวเองได้ตามใจชอบเลย นอกจากจะปลูกไว้กินเองที่บ้านได้แล้ว ยังสามารถนำวิธีปลูกมะนาวเหล่านี้ เพื่อสร้างรายได้ได้อีกด้วยนะคะ 

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การสืบพันธุ์ (reproduction) เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการดำรงเผ่าพันธุ์ไม่ให้สูญหายไปจากโลก โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งการสืบพันธุ์ของพืชได้เป็น 2 ประเภท คือ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นวิธีการสืบพันธุ์โดยไม่ต้องมีการสร้างและการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีอยู่หลายแบบ เช่น การแบ่งตัว การแตกหน่อ การงอกใหม่ การสร้างสปอร์ และการใช้ส่วนต่างๆ ของพืชมาขยายพันธุ์ ตัวอย่างของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชมีหลายวิธีดังนี้

-การสร้างสปอร์พบในพืชพวกเฟิน มอส ลิเวอร์เวิร์ต ช้องนางคลี่ หวายทะนอย โดยพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ที่ด้านหลังของใบ ภายในมีสปอร์เล็กๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยลมหรือน้ำเป็นตัวพาไป

-การแตกหน่อพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น กล้วย อ้อย จอก แหน กล้วยไม้ เป็นต้น การสืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้เซลล์ใหม่จะเจริญจากกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่าหน่อซึ่งงอกมาจากเซลล์พ่อแม่ ต่อมาจะหลุดออกจากเซลล์พ่อแม่แล้วเจริญเติบโตต่อไปได้

-การใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ตา ใบ หรือลำต้น โดยใช้วิธีการตอน การติดตา การต่อกิ่ง หรือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้แพร่พันธุ์พืชที่ใช้เมล็ดปลูกได้ยาก หรือพืชที่เมื่อใช้เมล็ดมาเพาะเพื่อขยายพันธุ์แล้วต้องใช้ระยะเวลานานมากในการให้ผลผลิ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นวิธีการสืบพันธุ์ของพืชดอก โดยส่วนของพืชที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือ ดอก (flower)
8-01.JPG
................................................ส่วนประกอบของดอก.................................................

ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกเมื่อเรียงลำดับจากชั้นนอกสุดไปยังชั้นในสุดมีดังต่อไปนี้

- กลีบเลี้ยง (sepal)เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของดอก มีสีเขียว กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจจะมีลักษณะแยกออกจากกัน เช่น ดอกบัวสาย ดอกพุทธรักษา เป็นต้น แต่กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจจะมีลักษณะรวมกันหรือเชื่อมติดกัน เช่น ดอกมะเขือเปราะ ดอกมะเขือเทศ ดอกพริก เป็นต้น กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของดอกตูม เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำ แสงจากดวงอาทิตย์ ศัตรูพืช การกระทบกระแทกจากสิ่งต่างๆ เป็นต้น

กลีบเลี้ยงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตของพืช โดยช่วงแรกกลีบเลี้ยงจะห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของดอกเอาไว้อย่างมิดชิด และจะค่อยๆ แยกออกเพื่อให้ดอกสามารถบานออกมาได้ เมื่อดอกมีการเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ กลีบเลี้ยงก็จะเหี่ยวแห้งและหลุดร่วงไป เช่น กลีบเลี้ยงของแตงโม ฟัก แตงกวา มะม่วง ฝรั่ง แอปเปิล ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน พุทรา กล้วย ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น แต่มีพืชบางชนิดที่เมื่อดอกเจริญมากขึ้นแล้วกลีบเลี้ยงจะไม่เหี่ยวแห้งและหลุดร่วงไป เช่น กลีบเลี้ยงของมังคุด พลับ มะเขือเปาะ มะเขือพวง มะพร้าว พริกชี้ฟ้า พริกหวาน มะเขือเทศ เป็นต้น

- กลีบดอก (petal)เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามาด้านใน กลีบดอกมักจะมีสีสันต่างๆ และกลีบดอกของพืชบางชนิดจะมีกลิ่นหอม ส่วนบริเวณโคนของกลีบดอกมักจะมีน้ำหวาน เพื่อใช้ล่อแมลงให้มากินน้ำหวาน ซึ่งเป็นการช่วยผสมเกสรให้แก่พืช

กลีบดอกของพืชบางชนิดอาจมีลักษณะแยกออกจากกันเป็นกลีบๆ เช่น ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกกระดังงา ดอกนมแมว ดอกมณฑา ดอกจำปา ดอกจำปี ดอกลำดวน ดอกแก้ว เป็นต้น แต่ในพืชบางชนิดกลีบดอกจะรวมกัน ไม่แยกเป็นกลีบๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกฟักทอง ดอกมะเขือ ดอกผักบุ้ง ดอกบานบุรี เป็นต้น

- เกสรเพศผู้ (stamen)เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาด้านใน เกสรเพศผู้ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ซึ่งเรียกว่า ละอองเรณู (pollen grain) เกสรเพศผู้มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ก้านชูอับเรณู (filament) และอับเรณู (anther)
08-2.JPG
.......................................เกสรเพศผู้..........................................

- เกสรเพศเมีย (pistil)เป็นส่วนประกอบของดอกที่อยู่ด้านในสุด เกสรเพศเมียทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งเรียกว่า " เซลล์ไข่ (egg)" เกสรเพศเมียมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary)
08-3.JPG
....................................เกสรเพศเมีย.............................................

ขั้นตอนในการสืบพันธุ์ของพืชดอกมีดังนี้

1. การถ่ายละอองเรณู (pollination)คือ การที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งการถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นเมื่อดอกของพืชชนิดนั้นๆ เจริญเติบโตเต็มที่ และส่วนของอับเรณูก็จะแตกออก ทำให้ละอองเรณูที่อยู่ภายในเคลื่อนที่ออกสู่ภายนอกตามแรงต่างๆ เช่น แรงดึงดูดของโลก แรงในการสั่นสะเทือนของต้นไม้ แรงลม แรงดันน้ำ เป็นต้น และละอองเรณูก็จะไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย

ประเภทของการถ่ายละอองเรณูมีดังนี้

-การถ่ายละอองเรณูของดอกที่มีความเหมือนกันทางพันธุกรรม (self pollination) คือ มียีน (gene) ที่เหมือนกัน ดังนี้

- การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน

- การถ่ายละอองเรณูคนละดอกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน

- การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น

- การถ่ายละอองเรณูของดอกที่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม (cross pollination) คือ มียีน (gene) ต่างกัน เป็นการถ่ายละอองเรณูจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพืชพันธุ์เดียวกัน พืชสปีชีส์เดียวกันหรือแตกต่างกันก็ได้
08-4.JPG
..........การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น............

2. การปฏิสนธิ (fertilization)เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นต่อจากการถ่ายละอองเรณู ซึ่งเมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ละอองเรณูจะเริ่มรับน้ำจากยอดเกสรเพศเมียด้วยวิธีการแพร่ (diffusion) จนมีปริมาณน้ำมากพอ (ละอองเรณูจะมีลักษณะพองขึ้น) ก็จะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นจนเกิดเป็นท่อหรือหลอด (pollen tube) งอกลงไปในก้านเกสรเพศเมียจนกระทั่งถึงรังไข่

นิวเคลียส 2 ตัว ซึ่งจะเจาะเข้าสู่ภายในถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 1 จะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกตซึ่งจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 2 จะผสมกับโพลาร์นิวเคลียสได้เอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน เรียกวิธีการนี้ว่า การปฏิสนธิ (fertilization) และเป็นการปฏิสนธิ 2 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

หลังการปฏิสนธิส่วนต่างๆ ของดอกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

- ออวุล (ovule) เจริญไปเป็นเมล็ด

- รังไข่ (ovary) เจริญไปเป็นผล (fruit)

- ไข่ (egg) เจริญไปเป็นต้นอ่อน (embryo) อยู่ภายในเมล็ด

- ผนังรังไข่ (ovary wall) เจริญไปเป็นเปลือกและผนังผล (pericarp)

08-5.JPG